รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ “ผลงานนวัตกรรม” ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการผลิตใหม่ บริการใหม่ หรือรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ แบ่งเป็น 2 ประเภทตามขนาดขององค์กร ได้แก่
1. วิสาหกิจขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลาง
วิสาหกิจขนาดใหญ่ หมายถึง กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน หรือรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต : การจ้างงานมากกว่า 200 คน หรือรายได้มากกว่า 500 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ : การจ้างงานมากกว่า 100 คน หรือรายได้มากกว่า 300 ล้านบาทต่อปี
วิสาหกิจขนาดกลาง หมายถึง กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน หรือรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต : การจ้างงานระหว่าง 51-200 คน หรือรายได้มากกว่า 100 ล้าน ถึง 500 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ : การจ้างงานระหว่าง 31-100 คน หรือรายได้มากกว่า 50 ล้าน ถึง 300 ล้านบาทต่อปี
2. วิสาหกิจขนาดย่อมและวิสาหกิจรายย่อย
วิสาหกิจขนาดย่อม หมายถึง กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน หรือรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต : การจ้างงานระหว่าง 6-50 คน หรือรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน ถึง 100 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ : การจ้างงานระหว่าง 6-30 คน หรือรายได้มากกว่า 1.8 ล้าน ถึง 50 ล้านบาทต่อปี
วิสาหกิจรายย่อย หมายถึง กิจการในรูปนิติบุคคลที่มีการจ้างงาน หรือรายได้ ดังนี้
• ภาคการผลิต : การจ้างงานไม่เกิน 5 คน หรือรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
• ภาคการค้าและบริการ : การจ้างงานระหว่าง 1-5 คน หรือรายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ หากมีกรณีจำนวนการจ้างงาน หรือรายได้เข้าลักษณะของวิสาหกิจต่างกัน ให้ยึด “รายได้” เป็นหลักในการพิจารณา (ที่มา: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2563)
รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ เป็นรางวัลที่พิจารณาจากผลการดำเนินการของ “ผลงาน” ที่มีความเป็นนวัตกรรม สามารถสร้างให้เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์และประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยพิจารณาผลงานที่ขอรับรางวัลตามเงื่อนไข ดังนี้
• ต้องเป็นผลงานที่มีความใหม่ ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ (Product) กระบวนการ (Process) การบริการ (Service) หรือรูปแบบธุรกิจ (Business Model)
• ต้องเป็นผลงานที่มีการออกแบบเพื่อแก้ปัญหาที่ตอบสนองต่อการใช้งานและมีการนำไปใช้งานจริงอย่างแพร่หลาย
• ต้องเป็นผลงานที่สร้างให้เกิดคุณค่าเชิงพาณิชย์ และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
1. ความเป็นนวัตกรรมของผลงาน
1.1 ระดับของความใหม่ (Degree of novelty) / ความแตกต่าง (Differentiation)
1.2 แนวความคิดในการแก้ปัญหาหรือความยุ่งยากที่เคยเกิดขึ้น (Pain point)
1.2 คุณค่าที่โดดเด่นที่ส่งมอบให้กับกลุ่มลูกค้า (Unique value proposition)
2. กลยุทธ์ธุรกิจนวัตกรรม
2.1 ความโดดเด่นของรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (Business model) และการได้มาซึ่งรายได้ (Revenue stream)
2.2 ขนาดของตลาดและส่วนแบ่งของตลาด
2.3 รายได้ที่เกิดขึ้นจากผลงานนวัตกรรม (นับตั้งแต่วันเริ่มจำหน่าย)
3. ประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ
3.1 สัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศ/ลดการนำเข้า เพิ่มการส่งออก/เพิ่มการจ้างงาน
3.2 ก่อให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจและขยายห่วงโซ่อุปทานในประเทศ
1. เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมาย และมีสัดส่วนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
2. ผู้สมัครต้องเลือกประเภทให้ถูกต้องตรงตามขนาดของนิติบุคคล
1. ผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละประเภท จะได้รับพระบรมรูปพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย
2. ผู้ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่หนึ่งในแต่ละประเภท จะได้รับโล่เชิดชูเกียรติ
3. ผู้ที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่สองในแต่ละประเภท จะได้รับโล่เชิดชูเกียรติ
นอกจากนี้ ผู้ได้รับรางวัลจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
• ได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ
• ได้รับสิทธิในการพัฒนาศักยภาพทางนวัตกรรมจากการเข้ารับการอบรมและศึกษาดูงานนวัตกรรมองค์กรชั้นนำด้านนวัตกรรมในต่างประเทศ
• ได้รับโอกาสในการพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรมโดยการสนับสนุนด้านเงินทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
• ได้รับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เชิดชูเกียรติผ่านสื่อมวลชน
• ได้รับสิทธิให้ใช้ตราสัญลักษณ์สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ควบคู่กับผลงานที่ได้รับรางวัล เพื่อประชาสัมพันธ์หน่วยงานเป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ได้รางวัล